Sunday, 14 May 2017

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ


สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ (National university) หรือที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยนอกระบบ" คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ (autonomous university) แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป (block grant) ที่รัฐจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรง เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา


ประวัติ

แนวความคิดที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ซึ่งผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ยื่นหลักการต่อ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ซึ่งก็ไม่ได้รับการเห็นชอบ เพียงแต่ได้มีการจัดตั้ง "ทบวงมหาวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อดูแลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แทน "สำนักนายกรัฐมนตรี" ดังนั้น ในยุคนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้ย้ายไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จากเดิมที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยก็ยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายระเบียบของระบบราชการเช่นเดิม ซึ่งทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินงาน จึงได้มีความพยายามที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเรื่อยมา 
และในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2541 นโยบายการออกนอกระบบก็ได้เป็นข้อตกลงหนึ่งที่ผูกพันกับสัญญาการกู้ยืมเงินกับ [[ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ]] โดยมุ่งหมายของรัฐบาลเพื่อลดงบประมาณในส่วนราชการที่สามารถเลี้ยงตนเองและบริหารงบ?ประมาณเองได้ ในช่วงปี พ.ศ. 2542 เริ่มมีการเสนอให้มหาวิทยาลัย หรือคณะฯ ที่ตั้งขึ้นใหม่ "ออกนอกระบบ" ราชการ และมีการหยุดรับข้าราชการพลเรือนเข้ามาในมหาวิทยาลัยรัฐเดิมทั้งหมด ตำแหน่งที่บรรจุเข้ามาใหม่ เรียกว่า "พนักงานมหาวิทยาลัย" ซึ่งมีกรอบเงินเดือนและสวัสดิการแตกต่างจากข้าราชการพลเรือนเดิม และหากผู้ที่เกษียณราชการไปให้ตำแหน่งและเงินเดือนนั้นเปลี่ยนเป็นตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งเริ่มบรรจุใหม่เท่านั้น
เริ่มมีความพยายามนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบอีกครั้งตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร แต่มีการคัดค้าน ดังนั้น จึงยังไม่มีการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบในช่วงนี้ ต่อมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดย ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีศึกษาธิการ ก็ได้เสนอ ครม.และ สนช. ให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกครั้ง



รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ


ในประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษา ในกำกับ 24 แห่ง ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบราชการหรือไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยในจำนวนนี้มี 7 แห่งที่เป็นสถาบันในกำกับของรัฐตั้งแต่ก่อตั้ง ส่วนที่เหลือนั้นเป็นสถาบันในกำกับของรัฐโดยการแปรสภาพด้วยผลของกฎหมาย ทั้งนี้มีเฉพาะมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชแห่งเดียวที่อยู่ในกำกับของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นจะอยู่ในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นราชการส่วนกลาง



ลำดับที่ชื่อมหาวิทยาลัยวันที่มีผลบังคับออกนอกระบบตั้งแต่ก่อตั้งอ้างอิง
1มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี30 กรกฎาคม 2533ใช่[2]
2มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์8 เมษายน 2535ใช่[3]
3มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย2 ตุลาคม 2540[4]
4มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย2 ตุลาคม 2540[5]
5มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง26 กันยายน 2541ใช่[6]
6มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี7 มีนาคม 2541[7]
7มหาวิทยาลัยมหิดล17 ตุลาคม 2550[8]
8มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ27 ธันวาคม 2550[9]
9มหาวิทยาลัยบูรพา10 มกราคม 2551[10]
10มหาวิทยาลัยทักษิณ6 กุมภาพันธ์ 2551[11]
11จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย7 กุมภาพันธ์ 2551[12]
12มหาวิทยาลัยเชียงใหม่7 มีนาคม 2551[13]
13สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง8 มีนาคม 2551[14]
14มหาวิทยาลัยพะเยา17 กรกฎาคม 2553ใช่[15]
15มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช13 พฤศจิกายน 2553ใช่[16]
16สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา26 พฤษภาคม 2555ใช่[17]
17มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์18 กรกฎาคม 2558[18]
18มหาวิทยาลัยขอนแก่น18 กรกฎาคม 2558[19]
19มหาวิทยาลัยสวนดุสิต18 กรกฎาคม 2558[20]
20มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์16 สิงหาคม 2558[21]
21ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์18 เมษายน 2559ใช่[22]
22มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ21 พฤษภาคม 2559[23]
23มหาวิทยาลัยศิลปากร3 กรกฎาคม 2559[24]
24มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์21 กรกฎาคม 2559[25]
25มหาวิทยาลัยแม่โจ้6 พฤษภาคม 2560[26]
26สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
(ยกฐานะจากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย)
25 พฤษภาคม 2560[27]




สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในขั้นตอนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ



สถาบันอุดมศึกษาที่มีร่างพระราชบัญญัติของสถาบันอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้


ร่างพระราชบัญญัติอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาคณะรัฐมนตรีรับหลักการแล้วอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีอยู่ระหว่างการพิจารณาของมหาวิทยาลัยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา พ.ศ. ...[28]
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ...[29]
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ...[30]



การวิพากษ์วิจารณ์

การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น เป็นประเด็นขัดแย้ง มีการล่ารายชื่อคัดค้าน [31], [32]จนกระทั่งวาระสุดท้ายของการพิจารณาใน สนช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรรมการสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คัดค้าน สนช. ในการผ่านร่าง พ.ร.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ....อย่างเร่งรีบโดยไม่ฟังเสียงประชาคมจุฬาฯ  นอกจากนี้ยังเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งนักวิชาการ นักการศึกษา รวมถึงนิสิต นักศึกษา ประชาชนโดยทั่วไป โดยประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้นจะวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสียของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ดังนี้



ข้อดี

  • เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัยมากขึ้น
  • เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
  • มหาวิทยาลัยสามารถเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้
  • สวัสดิการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทียบเท่าเอกชน



ข้อเสีย

  • นักการเมืองมีบทบาทในมหาวิทยาลัยมากขึ้น เนื่องจากงบประมาณส่วนหนึ่งยังต้องขอรับการจัดสรรจากรัฐบาล
  • ค่าเล่าเรียนอาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของผู้มีรายได้น้อยทางอ้อม
  • คณะหรือหลักสูตรที่ไม่คุ้มทุนในการเปิดสอน อาจจะต้องปิดตัวลง
  • การบริหารงานของฝ่ายบริหารอาจจะไม่โปร่งใส ตรวจสอบได้ยาก
  • เนื้อหาของร่าง พรบ. มีลักษณะเป็นกฎหมายบริหารจัดการทรัพย์สินที่ดิน ไม่ได้เป็นการบริหารจัดการการศึกษาแต่อย่างใด 




ที่มา  จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



No comments:

Post a Comment