การใช้คำพูดกับพระภิกษุสงฆ์ตามระดับสมณศักดิ์
การใช้คำพูดกับพระภิกษุสงฆ์ตามระดับสมณศักดิ์
คณะสงฆ์นั้นถือว่าเป็นสังคมกลุ่ม
หนึ่งที่มีระเบียบในการปกครองสังคมของท่านมานานตั้งแต่ครั้งพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ครั้งนั้นอาจจะปกครองแบบอาจารย์กับศิษย์ ต่อมา
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
เมื่อจะมีการทำปฐมสังคายนาที่เมืองราชคฤห์พระมหากัสสปเถระได้รับสมมติเป็น
สังฆปริณายกองค์แรก หลังจากนั้นต่อมาปี พ.ศ. 236
ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชได้พัฒนาปรับปรุงระเบียบการปกครองสังฆบริษัทเพื่อให้
มีระเบียบวินัยเป็นอย่างเดียวกันโดยการทำ
ตติยสังคายนาที่เมืองปาฏลีบุตรเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายมีพระภิกษุ
สงฆ์จำนวนมากนำพระพุทธศาสนาออกประดิษฐานในประเทศต่างๆซึ่งการแพร่หลายพระ
พุทธศาสนาครั้งนั้นจำเป็นที่จะต้องได้พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก
ในประเทศนั้นอุดหนุนเกื้อกูลแก่การปกครองคณะสงฆ์มากยิ่งขึ้นจึงทำให้การ
ปกครองของคณะสงฆ์ต้องเกี่ยวข้องกับงานราชการแผ่นดินด้วยตั้งแต่การวางแบบแผน
ปกครองคณะสงฆ์ซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายระเบียบการปกครองของทางราชการดัง
นั้นจึงมีการจัดตั้งสังฆนายกให้สมณศักดิ์ต่างๆ ก็เพื่อให้มีระเบียบในการ
ปกครองว่ากล่าวสังฆบริษัทตามลำดับขั้นและเมื่อมีการตั้งสมณศักดิ์ก็มักจะมี
ราชทินนามควบไปด้วย
สมณศักดิ์และราชทินนามในประเทศไทยนั้นได้มีการใช้มานานตังแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้
โดยแบ่งออกได้ดังนี้
- สมเด็จพระสังฆราช
- สมเด็จพระราชาคณะ
- พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (รองจากชั้นสมเด็จพระราชาคณะ)
- พระราชาคณะชั้นธรรม
- พระราชาคณะชั้นเทพ
- พระราชาคณะชั้นราช
- พระราชาคณะชั้นสามัญ
- รองพระราชาคณะชั้นพระครูและฐานานุกรม
เมื่อมีการแบ่งสมณศักดิ์และราชทินนามแล้วเพื่อให้ความเคารพต่อท่าน เรา จึงควรศึกษาการใช้คำพูดกับท่านให้ถูกต้องเพื่อแสดงความเคารพในตัวพระ เถรานุเถระและให้ความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธ ศาสนาเพราะสมณศักดิ์นั้นได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น
การใช้คำทูลสมเด็จพระสังฆราช
ถือหลักการใช้ราชาศัพท์ฐานันดรศักดิ์ชั้นพระองค์เจ้าเช่น
|
คำเรียกขาน
|
คำแทนตัว
|
คำรับคำตอบ
| ||
ชาย
|
หญิง
|
ชาย
|
หญิง
| ||
สมเด็จพระสังฆราช
|
ฝ่าพระบาท
|
เกล้ากระหม่อม
ฝ่าบาท
|
กระหม่อมฉัน
กระหม่อม
|
พ่ะย่ะค่ะ
หม่อมฉัน
|
เพคะ
กระหม่อม
|
การใช้คำพูดกับสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป
ถือหลักการใช้คำสุภาพตามฐานานุรูปเช่น
|
คำเรียกขาน
|
คำแทนตัว
|
คำรับคำตอบ
| ||
ชาย
|
หญิง
|
ชาย
|
หญิง
| ||
สมเด็จพระราชคณะ
พระราชาคณะ
(ชั้นราชขึ้นไป)
|
พระเดชพระคุณ
ใต้เท้า
|
เกล้ากระหม่อม
เกล้าฯ
|
ดิฉัน
|
ขอรับกระผม
ครับกระผม
ครับผม
|
เจ้าคะ
|
การใช้คำพูดกับพระราชาคณะชั้นสามัญลงมา
ถือหลักการใช้คำสุภาพดังนี้
|
คำเรียกขาน
|
คำแทนตัว
|
คำรับคำตอบ
| ||
ชาย
|
หญิง
|
ชาย
|
หญิง
| ||
พระราชาคณะ
พระครูสัญญาบัตร
พระครูฐานานุกรม
พระเปรียญ
พระอันดับธรรมดา
พระผู้เฒ่า
พระสงฆ์ที่เป็นญาติ
|
ท่านเจ้าคุณ,ท่าน
ท่านพระครู
ท่าน
ท่านมหา,ท่าน
พระคุณเจ้า,ท่าน
หลวงปู่,หลวงพ่อ
หลวงปู่,หลวงตา
หลวงพ่อ,หลวงลุง
หลวงอา ฯลฯ
|
กระผม
ผม
ผม
ผม
ผม
ผม
ผม
ผม
ผม
|
ดิฉัน
ดิฉัน
ดิฉัน
ดิฉัน
ดิฉัน
ดิฉัน
ดิฉัน
ดิฉัน
ดิฉัน
|
ครับ
ครับ
ครับ
ครับ
ครับ
ครับ
ครับ
ครับ
ครับ
|
เจ้าคะ
ค่ะ
ค่ะ
ค่ะ
ค่ะ
ค่ะ
ค่ะ
ค่ะ
ค่ะ
|
การใช้คำพูดกับพระสามัญทั่วไป
ถ้าผู้พูดไม่รู้จักกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น ไม่ทราบว่าท่าน
มีสมณศักดิ์ชั้นไหน นิยมใช้คำพูดเป็นสามัญกลางๆดังนี้
|
คำเรียกขาน
|
คำแทนตัว
|
คำรับคำตอบ
| ||
ชาย
|
หญิง
|
ชาย
|
หญิง
| ||
พระภิกษุสงฆ์
|
พระคุณเจ้า
พระคุณท่าน,ท่าน
|
กระผม
ผม
|
ดิฉัน
ฉัน
|
ครับ
|
เจ้าค่ะ,ค่ะ
|
ถ้อยคำพิเศษที่นิยมใช้เฉพาะแก่พระภิกษุสงฆ์ตามประเพณีนิยมบางคำ
คำพิเศษ
|
ความหมาย
|
อาตมภาพ
|
- ข้าพเจ้า (เป็นคำที่พระภิกษุสงฆ์ใช้แทนตัวท่านเอง)
|
อาราธนา
|
- เชิญ
|
อาพาธ
|
- ป่วย
|
อาหารบิณฑบาต
|
- อาหาร
|
อัฐบริขาร
|
- ของใช้จำเป็นของพระภิกษุสงฆ์ 8 สิ่ง ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิประคดเอว บาตร
มีดโกน
เข็ม กระบอกกรองน้ำ
|
อาสนะ
|
- ที่นั่ง
|
อังคาส
|
- ถวายอาหารพระ เลี้ยงพระ
|
จังหัน
|
- อาหาร
|
ไทยธรรม
|
- ของถวายพระ ของทำบุญต่างๆ
|
คิลานเภสัช
|
- ยารักษาโรค
|
เผดียง
|
- บอกให้รู้ บอกนิมนต์ เชิญ
|
นิมนต์
|
- เชิญ
|
ฉัน
|
- กิน
|
ประเคน
|
- ส่งของถวายพระภายในหัตถบาสส่งให้ถึงมือ
|
จตุปัจจัย
|
- เครื่องยังชีพ 4 อย่างของพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ ผ้านุ่งห่มอาหาร ที่อยู่อาศัย
ยารักษาโรค
|
โยม
|
- คำที่พระภิกษุสามเณรใช้เรียกหมู่ญาติ และฆราวาสที่อุปัฏฐาก
|
ปวารณา
|
- เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรขอหรือเรียกร้องบอก
กล่าวถึงสิ่งที่ท่านต้องการ จะได้จัดหาให้ท่านหรือทำตาม
|
มรณภาพ
|
- ตาย
|
ที่มา :: http://watlantong.igetweb.com
No comments:
Post a Comment