Wednesday, 1 June 2016

การให้อาหารทางสายยาง



การให้อาหารทางสายยางfeeding3.jpg
                หมายถึง การให้อาหารเหลวผ่านทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง เพื่อให้ได้รับอาหาร น้ำ และ ยา เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
                การให้อาหารทางสายยาง จะให้ในผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองหรือมีปัญหาในการกลืน แพทย์จะใส่สายยางลงไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง
           อาหารทางสายยาง โดยหลักการต้องมีอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต (ข้าว+แป้ง+น้ำตาล) โปรตีน (เนื้อสัตว์, ไข่, นม, ถั่ว) ไขมัน (น้ำมัน, ไขมันสัตว์) เกลือแร่+วิตามิน (ผักต่าง ๆ +ผลไม้) กล่าวโดยทั่วไปต้องให้ได้คาร์โบไฮเดรต 40-50% โปรตีน 20-30% ไขมัน 10-20% เกลือ+วิตามิน 10% แล้วแต่ว่าผู้ป่วยต้องการหรือต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทจึงจะจัดทำสูตร อาหารแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังขึ้นกับท้องถิ่นว่าจะหาซื้อหรือจัดหาได้สะดวกอีกด้วยหรือผลไม้ ตามฤดูกาลก็ประยุกต์เข้ากับสูตรอาหารได้เช่นกันfeeding6.jpeg
                แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย คือ
1.       ใส่สายยางทางจมูก
2.       feeding4.jpgใส่สายยางทางหน้าท้อง
การให้อาหารทั้ง 2 วิธีนี้ใช้หลักการ และวิธีการให้เหมือนกัน
เครื่องมือที่ใช้
1.    กระบอกแก้วสำหรับให้อาหารขนาด 50 ซี.ซี. (ลักษณะเหมือนกระบอกฉีดยา แต่ปลายที่ต่อกับสายยางโต กว่า)
2.    ภาชนะมีฝาปิด สำหรับใส่กระบอกแก้ว
3.    สำลี แอลกอฮอล์ (70%)
4.    อาหารเหลวตามสูตรที่แพทย์สั่ง อุ่นพอดี
5.    ยาตามแพทย์สั่ง
6.    ใส่น้ำสะอาด สำหรับล้างสาย 50 – 100 ซี.ซี.
การเตรียมอาหารเหลว
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
     1.อาหารสำเร็จรูป มีทั้งชนิดน้ำ ใช้ได้ทันที และชนิดผงใช้ชงกับน้ำต้มสุก อัตราส่วนตามแพทย์สั่ง
     2.อาหารที่จัดเตรียมขึ้นเอง เป็นอาหารปั่นละเอียด
ตัวอย่างสูตรอาหาร
ส่วนผสม
     ไข่ลวก 5 นาที 3 ฟอง
     เนื้อไก่สับละเอียด 1 ขีด
      น้ำตาลทราย 10 ช้อนโต๊ะ
      เกลือป่น ½ ช้อนชา
     น้ำมันถั่วเหลือง 3 ช้อนชา
     ผักตำลึง 1 ขีด (ผักตำลึง สามารถใช้ผักอื่นแทนได้ เช่น ผักบุ้ง ผักกาด ฯลฯ)
วิธีทำ
      ส่วนผสมทั้งหมดใส่หม้อต้ม ยกเว้น ไข่ลวก ใส่น้ำให้พอดี
       ตั้งไฟเคี่ยวจนเปื่อย ยกลง ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
       ต่อยไข่ลวกผสมกับผักต้ม ใส่เครื่องปั่น ปั่นจนละเอียด
       กรองใส่ขวดแล้วเติมน้ำสุกให้ครบ 1 ลิตร
ข้อควรระวัง
      อาหารปั่นควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง
      อาหารที่เหลือเก็บเข้าตู้เย็นชั้นล่าง ไม่แช่แข็ง
      ภาชนะที่ใช้และบรรจุ ควรลวกน้ำร้อนก่อนเก็บและแยกชุดต่างหาก ไม่ควรใช้ปนกับผู้อื่น
feeding1.jpg
รูปแบบการให้อาหารแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดีงนี้ 
  1. Intermittent enteral tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายให้อาหารเป็นครั้งคราววันละ 4-6 ครั้ง ส่วนใหญ่มักจะให้ตามมื้อของอาหาร คือ อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น ละในกรณีที่อาหารเหลวมีปริมาณมากอาจจะแบ่งเป็น 4 มื้อ คือก่อนนอนด้วย ส่วนระหว่างมื้ออาจจะให้น้ำเปล่าหรือน้ำหวานเพื่อให้ร่างการได้รับน้ำอย่าง เพียงพอ 
  2. Continuous enteral tube feeding เป็นการให้อาหารทางสายให้อาหารอย่างต่อเนื่องโดยหยดทางสายให้อาหารอย่างช้าๆ ในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารรัยประทานอาหารได้ที่ละจำนวนมากๆ เช่น ในผู่ป่วยรายที่มีปัญหาในการย่อยและการดูดซึม อาจจะควบคุมจำนวนหยดด้วยเครื่อง 

วิธีการให้อาหารทางจมูก Nasogastic tube
1.       บอกให้ทราบก่อนว่าจะให้อาหาร
2.       ถ้าลุกนั่งได้ให้อยู่ในท่านั่ง ถ้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จัดให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือกึ่งนั่งกึ่งนอน ในรายที่เจาะคอ หรือมีเสมหะในคอมากควรดูดแสมหะออกให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มให้ อาหาร เพื่อกันการย้อนกลับของอาหารเข้าหลอดลม จะทำให้สำลักได้
3.       ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
4.       เช็ดปลายสายยางด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ให้สะอาดดูให้สายยางอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยทำเครื่องหมายไว้ที่สายยาง
5.       ต่อกระบอกแก้วเข้ากับสายยาง ทดลองดูดด้วยลูกสูบว่าสายยางอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ ถ้าอยู่จะดูดได้น้ำหรือน้ำย่อยออกมา
feeding5.jpg6.       ดูดอาหารที่ค้างในกระเพาะอาหารออกมา ถ้ามีมากกว่า 50 ซี.ซี. ให้ใส่กลับเข้าไปรอประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้ายังมีค้างมากเหมือนเดิม ให้งดมื้อนั้น เพื่อป้องกันการท้องอืด แสดงว่าระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี
7.       พับสายยางไว้ก่อน แล้วเริ่มเทอาหารใส่กระบอกแก้ว ปล่อยสายยางที่พับไว้ให้อาหารไหลลงช้าๆ โดยยกกระบอกแก้ว ให้สูงกว่าระดับหน้าอก คอยเติมอาหารตลอดเวลา เพื่อไม่ให้อากาศเข้า คอยสังเกต หากมีอาการผิดปกติ คือ สำลัก อาเจียน ขณะให้อาหาร ให้หยุดทันที
8.       เตรียมยาหลังอาหารให้พร้อม ถ้าเป็นยาเม็ดบดให้ละเอียด ละลายน้ำให้เข้ากัน เทใส่กระบอกแก้ว แล้วตามด้วยน้ำประมาณ 50 ซี.ซี. เพื่อล้างสายยางให้สะอาด
9.       ยกปลายสายยางให้สูง เพื่อให้น้ำในสายยางไหลลงกระเพาะให้หมด แล้วปิดจุกยางให้แน่น ทำความสะอาดปลายสายอีกครั้งด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์
10.    หลังให้อาหารแล้ว จัดนอนในท่านอนหงายศีรษะสูง 60 องศา นานประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของอาหาร อาจทำให้อาเจียนและสำลักได้
11.    ล้างกระบอกให้สะอาดทุกครั้งที่ใช้แล้วนำไปต้ม จากนั้นเก็บในภาชนะมีฝาปิดสะอาดและแห้ง พร้อมที่จะใช้ครั้งต่อไป
การให้อาหารทางสายที่ใส่ผ่านหน้าท้อง
  • การ ให้อาหารผ่านทางสาย หรือ เป็นการให้อาหารทางสายที่ใส่ผ่านหน้าท้องของผู้ป่วย โดยที่ปลายสายจะอยู่ที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กของผู้ป่วย จะกระทำในรายที่ไม่สามารถใส่สายผ่านทางจมูกถึงกระเพาะอาหารได้ หรือในรายที่ต้องการให้อาหารทางสายให้อาหารเป็นเวลานานๆ เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว 

วิธีปฏิบัติ 
  1. ล้างมือให้สะอาด 
  2. เตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารเหลว และอาหารเหลวตามแผนการรักษา 
  3. บอกให้ผู้ป่วยทราบ 
  4. จัดเตรียมผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูงหรือท่านั่ง หรือถ้าผู้ป่วยนอนหงายไม่ได้ให้นอนตะแคงขวาศีรษะสูง อย่างน้อย 30-60 องศา 
  5. เปิดจุกที่เปิดสายให้อาหาร แล้วเช็ดรูเปิดด้านนอกของสายให้อาหารด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก 
  6. สวมปลาย Asepto Syringe เข้ากับรูเปิดของสายให้อาหารให้แน่น 
  7. เปิด clamp สาย gastrostomy ดูดดูว่ามีอาหารมื้อก่อนเหลือค้างอยู่ในกระเพาะหรือไม่ 
  8. พับสาย gastrostomy แล้วปลด Asepto Syringe ออก 
  9. สวมปลาย Asepto Syringe เข้ากับรูของสายขณะที่ยังพับอยู่ 
  10. เริ่มให้อาหารเหลว ให้อาหารไหลลงช้า และต่อเนื่องเพื่อป้องกันอากาศเข้ากระเพาะอาหาร 
  11. เมื่ออาหารเหลวใกล้จาหมดไซริงค์ค่อยๆรินน้ำ 30-50 มล. 
  12. พับสาย gastrostomy แล้วปลด Asepto Syringe .ปิด clamp สาย gastrostomy ให้แน่น 
  13. ปิดจุกที่ปลายสาย 
  14. จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคงขวาศีรษะสูง หรือนอนหงายต่อไปอีก 1 ชั่วโมง เก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ทำความสะอาด
การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร
1.       เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3 วัน หรือเมื่อหลุดtube_feed.jpg
2.       ทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ
3.       ระวังสายยางเลื่อนหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังเกตด้วย
4.       ถ้าสายยางเลื่อนหลุดไม่ควรใส่เอง เพราะอาจใส่ผิดไปเข้าหลอดลม ให้มาพบแพทย์
5.       ควรนำมาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสกปรก หรือทุก 1 เดือน
อาการผิดปกติที่ต้องปรึกษาแพทย์
1.       มีไข้สูง
2.       น้ำหนักลด
3.       เกิดอาการสำลักบ่อยๆ
4.       ท้องเดิน และท้องอืดบ่อย โดยไม่ทราบสาเหตุ





ที่มา  ::   http://www.eldercarethailand.com/eldercare/content/การให้อาหารทางสายยาง#.V08POVenWi4







No comments:

Post a Comment