การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบต่างๆ
การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI)
การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดอยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเชื่อของครูที่เกิดจากการทำความเข้าใจการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน แล้วนามาพิจารณาใช้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และเชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีที่สุดต้องเรียนรู้ผ่าน การแก้ปัญหา โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดมีหลักการ (Carpenter et al. 1992, สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. 2559 : 81) ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ควรพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนโดยเน้นที่ความสำคัญระหว่างทักษะและการแก้ปัญหา ใช้การแก้ปัญหาเป็นศูนย์รวมของการเรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ควรจัดสถานการณ์ให้นักเรียนลงมือทำกิจกรรมให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองด้วยความเข้าใจ
3. นักเรียนควรสามารถเชื่อมโยงปัญหา มโนทัศน์หรือทักษะกับความรู้เดิมที่มีอยู่
4. เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบนี้อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความคิดของนักเรียน จึงต้องมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอๆ โดยไม่ได้ประเมินเพียงว่านักเรียนแก้ปัญหานั้นๆ ได้ แต่ประเมินด้วยว่านักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร วิธีการประเมินการคิดของนักเรียนที่ได้ผลก็คือ การถามคำถามที่เหมาะสมและฟังคำตอบของนักเรียน
การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด (open approach)
เป้าหมาย: เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนคณิตศาสตร์ในแนวทางที่ตอบสนองความสามารถของนักเรียนควบคู่กับการตัดสินใจด้วยตนเองในการเรียนรู้ของพวกเขา และสามารถขยายหรือเพิ่มเติมคุณภาพของกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ หรือกล่าวได้ว่าครูที่ใช้วิธีแบบเปิดจาเป็นต้องทาความเข้าใจแนวคิดของนักเรียนให้มากที่สุด ทาให้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนใช้การอภิปรายกับเพื่อนหรือโดยอาศัยการชี้แนะของครู
การสอนแบบเปิดมุ่งเน้นที่จะเปิดใจของนักเรียนที่มีต่อคณิตศาสตร์มากกว่าเน้นการสอนเนื้อหาให้ครบ โดยยึดหลักการว่า (สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. 2559 : 81)
1. มีความสัมพันธ์กับความอิสระของกิจกรรมของนักเรียน นั่นคือ ครูต้องตระหนักในคุณค่าของกิจกรรมของนักเรียนโดยที่จะพยายามไม่เข้าไปสอดแทรกโดยไม่จาเป็น
2. มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติของความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะในเชิงวิวัฒนาการและเชิงบูรณาการ
3. มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจที่มีประโยชน์ของครูในห้องเรียน
การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT
การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ยึดหลักว่าผู้เรียนมีการใช้สมองแต่ละซีกแตกต่างกันและแต่ละคนมีความสามารถแฝงติดตัวมาด้วย ซึ่งแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้เรียนแต่ละคนมีลีลา/วิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เรียกได้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT จัดผู้เรียนเป็น 4 แบบ ซึ่งมีรูปแบบการเรียนรู้และการรับรู้ที่แตกต่างกันดังนี้ (Morris; & McCarthy. 1990: 194-195)
ผู้เรียนแบบที่ 1 เรียนรู้โดยใช้จินตนาการ ผ่านกระบวนการรับรู้อย่างไตร่ตรอง (reflective watching) ชอบถามเหตุผลว่า "ทำไม" หรือ "Why?" เรียนได้ดีด้วยการฟัง จะรับข้อมูลแล้วแปลความเป็นข้อมูลของตนเอง สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเองและระดมความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
ผู้เรียนแบบที่ 2 เรียนรู้โดยใช้การวิเคราะห์ รับรู้ผ่านกระบวนการดู การเห็น หรือรับข้อมูลอย่างไตร่ตรอง ชอบถามว่าข้อเท็จจริงคือ "อะไร" หรือ "What?" จะหารายละเอียดและคิดเป็นขั้นตอน ตรวจสอบข้อเท็จจริง และจัดการกับปัญหาด้วยข้อเท็จจริงและหลักการ ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ได้รับการยืนยันกับผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เรียนแบบที่ 3 เรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำ ชอบถามว่า "อย่างไร" หรือ "How?" ชอบลงมือปฏิบัติ ประมวลความรู้จากการลงมือทำ พยายามค้นหาประยุกต์เป็นแนวคิดของเฉพาะของตนเอง
ผู้เรียนแบบที่ 4 เรียนรู้แบบพลวัตและการค้นพบด้วยตนเอง ชอบถามว่า "ถ้าอย่างนั้น" หรือ "If?" จะเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูก ชอบทำสิ่งใหม่ๆ ค้นหาแนวทางและเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในชีวิตจริง มีการสังเคราะห์ความรู้และทักษะเพื่อให้เกิดการเรียนรู้หรือชิ้นงาน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
หลักการ: ปัญหาสามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัยและความต้องการที่จะแสวงหาความรู้ เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว การให้นักเรียนได้เผชิญกับปัญหาจริงหรือสถานการณ์ปัญหาต่างๆ และร่วมกันคิดหาทางแก้ปัญหานั้นๆ จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ อันเป็นทักษะที่จาเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
นิยาม: เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย โดยครูอาจนำนักเรียนไปเผชิญกับปัญหา หรือจัดสภาพการณ์
ให้นักเรียนได้เผชิญ และฝึกกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาร่วมกัน เป็นกลุ่ม ซึ่งจะทาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจน ได้เห็นทางเลือกและวิธีการที่หลากหลายใน การแก้ปัญหา รวมทั้งยังช่วยให้นักเรียนเกิดการใฝ่รู้ เกิดทักษะกระบวนการคิด และกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ
การจัดการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิชัน (metacognition)
ในการแก้ปัญหา: เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่มีอยู่ แล้วเลือกยุทธวิธีในการคิด วางแผน กากับ หรือตรวจสอบ และประเมินกระบวนการคิด (นภัสสร พฤฒตยาคี. 2552: 20) และหากบุคคลรู้ถึงการคิดของตนเอง และสามารถควบคุมการคิดของตนให้เป็นไปในทางที่ต้องการ หรือมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตนเอง และใช้ความเข้าใจในการรู้เรื่องดังกล่าวใน การควบคุมกระบวนการคิด การทางานของตนเองด้วยยุทธวิธีต่างๆ จะช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทาประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการบริหาร อภิปัญญา คือ แรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ (ทิศนา แขมมณี. 2544: 28, สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. 2559 : 81)
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning)
(สุชาดา แก้วพิกุล. 2555: 12 ; สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. 2559 : 83)
1. ใช้หลักการสอนแบบซักถามที่เน้นให้นักเรียนค้นพบคำตอบด้วยตัวนักเรียนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันและกับครูผู้สอน
2. เน้นให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
3. ลดการถ่ายทอดความรู้จากครูให้น้อยลง และพัฒนาทักษะให้เกิดกับนักเรียน
4. นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยลงมือกระทำมากกว่านั่งฟังอย่างเดียว
5. นักเรียนมีส่วนในกิจกรรม
6. เน้นการสารวจเจตคติและคุณค่าที่มีอยู่ในนักเรียน
7. นักเรียนได้พัฒนาการคิดระดับสูงในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลการนำไปใช้
8. นักเรียนและครูรับข้อมูลป้อนกลับจากการสะท้อนความคิดได้อย่างรวดเร็ว
บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
นภัสสร พฤฒตยาคี. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดเชิง เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.
สุชาดา แก้วพิกุล. (2555). การพัฒนากิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ใช้การจัดการเรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น โดยเน้นการเรียนเป็นคู่ร่วมกับการบริหารสมอง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. 2559.
ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (วิทยาการทางการศึกษา และการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Carpenter, T.P.; & Fennema, E. (1992). Cognitively Guided Instruction: Building on the Knowledge of students and teachers. International Journal of Research in Education. 17(5): 457 - 470.
Morris, Susan; & McCarthy, Bernice. (1990). 4 MAT in Action II: Sample Lesson Plans for Use with the 4MAT System. Barrington,III: Excel.
No comments:
Post a Comment