Wednesday, 29 June 2016

การใช้งาน Microsoft Office 2013






การใช้คำพูดกับพระภิกษุสงฆ์ตามระดับสมณศักดิ์

การใช้คำพูดกับพระภิกษุสงฆ์ตามระดับสมณศักดิ์



การใช้คำพูดกับพระภิกษุสงฆ์ตามระดับสมณศักดิ์       

 

คณะสงฆ์นั้นถือว่าเป็นสังคมกลุ่ม หนึ่งที่มีระเบียบในการปกครองสังคมของท่านมานานตั้งแต่ครั้งพระสัมมาสัมพุทธ เจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ครั้งนั้นอาจจะปกครองแบบอาจารย์กับศิษย์ ต่อมา เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อจะมีการทำปฐมสังคายนาที่เมืองราชคฤห์พระมหากัสสปเถระได้รับสมมติเป็น สังฆปริณายกองค์แรก หลังจากนั้นต่อมาปี พ.ศ. 236 ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชได้พัฒนาปรับปรุงระเบียบการปกครองสังฆบริษัทเพื่อให้ มีระเบียบวินัยเป็นอย่างเดียวกันโดยการทำ    ตติยสังคายนาที่เมืองปาฏลีบุตรเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายมีพระภิกษุ สงฆ์จำนวนมากนำพระพุทธศาสนาออกประดิษฐานในประเทศต่างๆซึ่งการแพร่หลายพระ พุทธศาสนาครั้งนั้นจำเป็นที่จะต้องได้พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในประเทศนั้นอุดหนุนเกื้อกูลแก่การปกครองคณะสงฆ์มากยิ่งขึ้นจึงทำให้การ ปกครองของคณะสงฆ์ต้องเกี่ยวข้องกับงานราชการแผ่นดินด้วยตั้งแต่การวางแบบแผน ปกครองคณะสงฆ์ซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายระเบียบการปกครองของทางราชการดัง นั้นจึงมีการจัดตั้งสังฆนายกให้สมณศักดิ์ต่างๆ ก็เพื่อให้มีระเบียบในการ ปกครองว่ากล่าวสังฆบริษัทตามลำดับขั้นและเมื่อมีการตั้งสมณศักดิ์ก็มักจะมี ราชทินนามควบไปด้วย 

สมณศักดิ์และราชทินนามในประเทศไทยนั้นได้มีการใช้มานานตังแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้ โดยแบ่งออกได้ดังนี้

  1. สมเด็จพระสังฆราช
  2. สมเด็จพระราชาคณะ
  3. พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (รองจากชั้นสมเด็จพระราชาคณะ)
  4. พระราชาคณะชั้นธรรม
  5. พระราชาคณะชั้นเทพ
  6. พระราชาคณะชั้นราช
  7. พระราชาคณะชั้นสามัญ
  8. รองพระราชาคณะชั้นพระครูและฐานานุกรม
 
เมื่อมีการแบ่งสมณศักดิ์และราชทินนามแล้วเพื่อให้ความเคารพต่อท่าน เรา จึงควรศึกษาการใช้คำพูดกับท่านให้ถูกต้องเพื่อแสดงความเคารพในตัวพระ เถรานุเถระและให้ความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธ ศาสนาเพราะสมณศักดิ์นั้นได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น
การใช้คำทูลสมเด็จพระสังฆราช

ถือหลักการใช้ราชาศัพท์ฐานันดรศักดิ์ชั้นพระองค์เจ้าเช่น




 

 

คำเรียกขาน

คำแทนตัว

คำรับคำตอบ

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

สมเด็จพระสังฆราช

ฝ่าพระบาท

เกล้ากระหม่อม

ฝ่าบาท

กระหม่อมฉัน

กระหม่อม

พ่ะย่ะค่ะ

หม่อมฉัน

เพคะ

กระหม่อม

 



การใช้คำพูดกับสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป

 

ถือหลักการใช้คำสุภาพตามฐานานุรูปเช่น



 

 

คำเรียกขาน

คำแทนตัว

คำรับคำตอบ

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

สมเด็จพระราชคณะ

พระราชาคณะ

(ชั้นราชขึ้นไป)

พระเดชพระคุณ

ใต้เท้า

เกล้ากระหม่อม

เกล้าฯ

ดิฉัน

ขอรับกระผม

ครับกระผม

ครับผม

เจ้าคะ

 



การใช้คำพูดกับพระราชาคณะชั้นสามัญลงมา

ถือหลักการใช้คำสุภาพดังนี้

 



 

 

คำเรียกขาน

คำแทนตัว

คำรับคำตอบ

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

พระราชาคณะ

พระครูสัญญาบัตร

พระครูฐานานุกรม

พระเปรียญ

พระอันดับธรรมดา

พระผู้เฒ่า

พระสงฆ์ที่เป็นญาติ

ท่านเจ้าคุณ,ท่าน

ท่านพระครู

ท่าน

ท่านมหา,ท่าน

พระคุณเจ้า,ท่าน

หลวงปู่,หลวงพ่อ

หลวงปู่,หลวงตา

หลวงพ่อ,หลวงลุง

หลวงอา ฯลฯ

กระผม

ผม

ผม

ผม

ผม

ผม

ผม

ผม

ผม

ดิฉัน

ดิฉัน

ดิฉัน

ดิฉัน

ดิฉัน

ดิฉัน

ดิฉัน

ดิฉัน

ดิฉัน

ครับ

ครับ

ครับ

ครับ

ครับ

ครับ

ครับ

ครับ

ครับ

เจ้าคะ

ค่ะ

ค่ะ

ค่ะ

ค่ะ

ค่ะ

ค่ะ

ค่ะ

ค่ะ

 

 



การใช้คำพูดกับพระสามัญทั่วไป

ถ้าผู้พูดไม่รู้จักกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น ไม่ทราบว่าท่าน

มีสมณศักดิ์ชั้นไหน นิยมใช้คำพูดเป็นสามัญกลางๆดังนี้


 



 

 

คำเรียกขาน

คำแทนตัว

คำรับคำตอบ

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

พระภิกษุสงฆ์

พระคุณเจ้า

พระคุณท่าน,ท่าน

กระผม

ผม

ดิฉัน

ฉัน

ครับ

เจ้าค่ะ,ค่ะ

 



ถ้อยคำพิเศษที่นิยมใช้เฉพาะแก่พระภิกษุสงฆ์ตามประเพณีนิยมบางคำ            

 



คำพิเศษ

ความหมาย

อาตมภาพ

-  ข้าพเจ้า (เป็นคำที่พระภิกษุสงฆ์ใช้แทนตัวท่านเอง)

อาราธนา

-  เชิญ

อาพาธ

-  ป่วย

อาหารบิณฑบาต

-  อาหาร

อัฐบริขาร

-  ของใช้จำเป็นของพระภิกษุสงฆ์ 8 สิ่ง ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิประคดเอว บาตร มีดโกน   

     เข็ม กระบอกกรองน้ำ

อาสนะ

- ที่นั่ง

อังคาส

- ถวายอาหารพระ เลี้ยงพระ

จังหัน

- อาหาร

ไทยธรรม     

- ของถวายพระ ของทำบุญต่างๆ

คิลานเภสัช

- ยารักษาโรค

เผดียง

- บอกให้รู้ บอกนิมนต์ เชิญ

นิมนต์

- เชิญ

ฉัน 

- กิน

ประเคน

- ส่งของถวายพระภายในหัตถบาสส่งให้ถึงมือ

จตุปัจจัย

- เครื่องยังชีพ 4 อย่างของพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ ผ้านุ่งห่มอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

โยม 

- คำที่พระภิกษุสามเณรใช้เรียกหมู่ญาติ และฆราวาสที่อุปัฏฐาก

ปวารณา

- เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรขอหรือเรียกร้องบอก  

    กล่าวถึงสิ่งที่ท่านต้องการ จะได้จัดหาให้ท่านหรือทำตาม

มรณภาพ

-  ตาย






ที่มา  ::  http://watlantong.igetweb.com















Monday, 13 June 2016

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม โรคทางพฤติกรรมที่ต้องช่วยกันดูแล

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม โรคทางพฤติกรรมที่ต้องช่วยกันดูแล






  แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม อาการนี้คืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าใครป่วยด้วยโรคนี้ พร้อมสังเกตความแตกต่างจากอาการออทิสติก
 


         
ถ้าได้ติดตามข่าวต่างประเทศมาบ้าง น่าจะเคยได้ยินข่าวที่มือปืนบุกกราดยิงผู้คนจนเสียชีวิตอยู่หลายครั้ง และมีมือปืนหลายคนถูกวินิจฉัยว่า ป่วยด้วยอาการ "แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม" (Asperger's Syndrome) ซึ่งก็ทำให้หลายคนสงสัยและสนใจว่า "แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม" คือโรคอะไร แล้วจะสังเกตได้อย่างไรว่าใครเป็นโรคนี้บ้าง กระปุกดอทคอม นำข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ



                         
      แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger's Syndrome) เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการที่ระบบประสาททางผิดปกติ จัดอยู่ในกลุ่มออทิสติก โรคนี้ถูกรายงานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1940 โดยคุณหมอฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ชาวออสเตรีย ที่พบว่าคนไข้ของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายมีความเฉลียวฉลาด สติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่กลับมีปัญหาเรื่องทักษะการเข้าสังคม มีพฤติกรรมหมกมุ่น ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่รู้จะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างไร ทั้งที่เขาสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนทั่วไปได้ปกติ

       

    แล้วเชื่อไหมว่า เมื่อปี พ.ศ. 2548 สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เคยรายงานว่า "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"และ "เซอร์ไอแซค นิวตัน" 2 นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลก อาจป่วยเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์นี้ด้วย เพราะอัจฉริยะทั้ง 2 คนมีพฤติกรรมหลายอย่างที่เข้าข่ายอาการนี้ ทั้งการเป็นคนเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร และพูดกับคนอื่นไม่ค่อยรู้เรื่อง

           ปัจจุบันพบอัตราผู้ป่วยโรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม รวมกับโรคออทิสติก และโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางประสาทอื่น ๆ หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (PDDs - Pervasive Developmental Disorder) ทั่วโลกประมาณ 1:1,000 ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น










แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม เกิดจากสาเหตุอะไร

           โรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม เกิดจากการทำงานของสมองบางตำแหน่งผิดปกติ แต่ยังบอกไม่ได้ว่าสาเหตุที่ทำให้สมองทำงานผิดปกติเป็นเพราะอะไร แม้ว่าจะมีงานวิจัยออกมาหลายชิ้น แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า น่าจะเกิดความบกพร่องของสารพันธุกรรม ซึ่งความผิดปกติทางพันธุกรรมก็ยังบอกไม่ได้อีกเหมือนกันว่าเกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นต่อรุ่นค่อย ๆ สะสมความผิดปกติมาจนแสดงออกในรุ่นหนึ่ง หรือว่าเป็นการกลายพันธุ์ของยีน ซึ่งยังต้องศึกษาวิจัยอีกระยะหนึ่ง ขณะที่อีกความเชื่อหนึ่งก็คือ น่าจะเกิดจากสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด




สังเกตพฤติกรรมเด็กแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม

           ทางการแพทย์ระบุว่าเด็กที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม จะเริ่มแสดงอาการออกมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ แต่อาการจะมาเด่นชัดเมื่ออายุระหว่าง 5-9 ขวบ ซึ่งโรคนี้ไม่ได้แสดงออกกับรูปร่าง หน้าตา แต่จะแสดงออกมาให้เห็นจากพฤติกรรม ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ




1.ด้านภาษา

          - เด็กที่ป่วยโรคนี้สามารถใช้ภาษาสื่อสารกับคนได้รู้เรื่องเหมือนเด็กปกติ แต่จะมีปัญหาไม่เข้าใจกับเรื่องที่จะพูด โดยเฉพาะคำพูดที่กำกวม มุกตลก คำเปรียบเปรย คำประชดประชัน เสียดสี เขาจะไม่เข้าใจ

          - มักจะพูดเรื่องของตัวเองมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ชอบพูดเรื่องซ้ำ ๆ เรื่องเดิม ๆ ด้วยคำพูดเหมือนเดิม

          - มีปัญหาเมื่อต้องใช้ทักษะการอ่าน คณิตศาสตร์ หรือการเขียน

          - ไม่รู้จักการทักทาย อยากถามอะไรก็จะโพล่งออกมาเลย จะถามเรื่องที่สนใจโดยไม่เสียเวลา และไม่มีเกริ่นนำ ที่มาที่ไป
 



2.ด้านสังคม

          - ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่สนใจบุคคลรอบข้าง

          - เข้ากับเด็กอื่น หรือคนอื่นไม่ค่อยได้

          - มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับคนอื่นอย่างไม่เหมาะสมกับวัย ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่มีมารยาท

          - เวลาพูดคุยจะไม่ค่อยมองหน้า ไม่ยอมสบตา

          - ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่น ๆ

          - ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม

          - บางรายมีพฤติกรรมสุดโต่ง และมีความอ่อนไหวมาก
 



3.ด้านพฤติกรรม

          - ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ หมกมุ่น สนใจมากกับเรื่องที่เขาชอบ โดยเฉพาะกับเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน อย่างเช่น แผนที่โลก วงจรไฟฟ้า ยี่ห้อรถยนต์ โลโก้สินค้า ดนตรีคลาสสิก ไดโนเสาร์ ระบบสุริยจักรวาล ธงชาติประเทศต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งหากเด็กกลุ่มนี้สนใจในเรื่องใดแล้วจะรู้ลึก รู้จริง และมีความสามารถสูงมาก

          - เปลี่ยนความสนใจได้ง่าย ในบางรายมีความไวต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป สมาธิสั้น

          - ท่วงท่าการเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกายดูงุ่มง่าม หรือไม่คล่องตัว

          - อาจพูดหรือมีพฤติกรรมบางอย่างไม่เหมาะสม เช่น กินข้าวร้านนี้แล้วมันไม่อร่อย เวลาเดินผ่านเด็กที่เป็นโรคนี้ก็อาจจะพูดดัง ๆ ขึ้นมาตรงนั้นเลยว่า "ข้าวร้านนี้ไม่อร่อย"








แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม VS ออทิสติก ต่างกันอย่างไร

          อย่างที่ข้างต้นบอกไปแล้วว่า แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม เป็นอาการที่จัดอยู่ในกลุ่มออทิสติก แต่ผู้ป่วยโรคนี้ก็ไม่ได้มีอาการเหมือนกับออทิสติกเสียทีเดียว เพราะมีทั้งลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกัน ดังนี้







 จากข้อแตกต่างข้างบนจะเห็นได้ชัดว่า ความแตกต่างของทั้ง 2 อาการนี้อยู่ที่เรื่องของ "การใช้ภาษา" ที่เด็กแอสเพอร์เกอร์สามารถพูดคุยสื่อสารได้เหมือนคนปกติ ขณะที่เด็กออทิสติกมีปัญหาในเรื่องนี้ รวมทั้งปัญหาทางด้านสติปัญญาที่เด็กแอสเพอร์เกอร์มีสติปัญญาในระดับปกติ หรืออาจจะสูงกว่าปกติด้วยซ้ำ แต่เด็กออทิสติกจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ





จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกเราเป็นแอสเพอร์เกอร์

          นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลว่า เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์จะเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่ช่วงยังเล็ก ๆ จะดูยากมาก เพราะลักษณะภายนอกดูปกติ ไม่มีอะไรบ่งชี้เลยว่าจะมีปัญหา ข้อที่ชวนสงสัย คือ สังเกตว่าเด็กไม่ค่อยตอบสนอง เวลาอุ้มจะไม่อยากให้อุ้ม ไม่ค่อยโต้ตอบ ไม่สบตา ไม่ยิ้มตอบหรือแสดงท่าทีดีใจเวลามีคนเล่นด้วย มีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างจากเด็กคนอื่น

          สำหรับพ่อแม่ สิ่งที่ยากในการสังเกตก็คือ ถ้าไม่เคยมีลูกมาก่อนหรือไม่คุ้นเคยกับโรคจะไม่รู้ถึงความแตกต่าง หรือแยกความแตกต่างได้ค่อนข้างยาก เพราะมีจุดเหลื่อมที่แตกต่างกัน และไม่มีเส้นแบ่งชัดเจนระหว่างแอสเพอร์เกอร์กับคนปกติที่มีปัญหาเรื่องบุคลิกภาพบางอย่างไม่เหมาะสม หรือว่าบางรายที่เป็นแอสเพอร์เกอร์กับออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องบุคลิกบางอย่างไม่เหมาะสม หรือว่าบางรายที่เป็นแอสเพอร์เกอร์กับออทิสติกที่มีความสามารถสูงก็ยังแยก ยาก

          การพาเด็กมาพบหมอมักจะมาก็ต่อเมื่อเกิดปัญหามากแล้ว ดังนั้นแค่เริ่มสงสัยก็สามารถมาตรวจประเมินได้ ซึ่งหมอจะพิจารณาประวัติทุกด้าน ตั้งแต่เด็กยังเล็ก ๆ และสังเกตพฤติกรรมบางอย่างประกอบกัน ดูว่าเข้าเกณฑ์ของแอสเพอร์เกอร์หรือเปล่า ถ้าใช่ก็ต้องช่วยเหลือให้เร็วที่สุด อย่ากลัวที่จะรู้ว่าลูกเป็นอะไร เพราะการที่ลูกเสียโอกาสที่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่า

          เบื้องต้นจิตแพทย์จะประเมินดูก่อนว่าเด็กควรจะต้องตรวจเพิ่มเติมอะไร และไปฝึกกับใครบ้าง เช่น พาไปพบนักกิจกรรมบำบัดเพื่อฝึกสมาธิ ฝึกทักษะสังคม ฝึกพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว หรือไปพบกับนักจิตวิทยาเพื่อปรับพฤติกรรม กระตุ้นพัฒนาการหรือทำทั้งสองอย่าง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ

          เด็กบางคนอาจมีปัญหาสมาธิสั้นร่วม ซึ่งสมาธิสั้นจะพบร่วมได้ในหลาย ๆ โรค ถ้าเป็นสมาธิสั้นอย่างเดียวไม่มีโรคอื่น เราเรียกว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ถ้าสมาธิสั้นร่วมกับออทิสติกหรือแอสเพอร์เกอร์ ก็เรียกตามโรคหลักของเด็ก เด็กเป็นแอสเพอร์เกอร์เกือบครึ่งจะมีปัญหาสมาธิสั้น








หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์

          นพ.ทวีศักดิ์ ผู้ซึ่งใกล้ชิดผู้ป่วยโรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม ให้ข้อมูลว่า ตามคู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorder - Forth Edition, 1994) ได้จัดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์ ไว้ดังนี้



          A. มีคุณลักษณะในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
            1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยา หรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)

            2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้

            3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่น ๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)

            4. ไม่มีอารมณ์ หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม



          B. มีพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ซ้ำ ๆ เป็นแบบแผน โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้

            1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำ ๆ (Stereotyped) ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ

            2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น

            3. ทำกิริยาซ้ำ ๆ (Mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)

            4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ

          C. ความผิดปกตินี้ก่อให้กิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ บกพร่องอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์          D. ไม่พบพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า อย่างมีความสำคัญทางการแพทย์          E. ไม่พบพัฒนาการทางความคิดที่ช้าอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง พฤติกรรมการปรับตัว และมีความอยากรู้เห็นในสิ่งรอบตัวในช่วงวัยเด็ก          F. ความผิดปกติไม่เข้ากับ พีดีดี ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านชนิดเฉพาะอื่น หรือโรคจิตเภท (Schizophrenia)





ปัญหาของเด็กป่วยแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม


          แม้ว่าเด็กที่ป่วยโรคนี้จะสามารถสื่อสารกับคนทั่วไปได้ สามารถช่วยเหลือตัวเองในสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวันได้ และอาจเป็นคนที่มีสติปัญญาดี แต่หลายคนก็มีปัญหาไม่สามารถมีสมาธิใจจดใจจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานนัก รวมทั้งยังมีปัญหาเรื่องการจัดลำดับเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้คนรอบข้างไม่เข้าใจ โดยเฉพาะพฤติกรรมบางอย่างของเขาที่ทำออกมาโดยไม่รู้จักกาลเทศะ ก็อาจส่งผลให้พ่อแม่ถูกคนรอบข้างมองได้ว่าไม่รู้จักสั่งสอนลูก ทั้งที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็พยายามสอน แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวเด็กที่ทำอย่างไรเขาก็ไม่เข้าใจ

          ขณะ เดียวกัน เด็กกลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเรียน ส่วนใหญ่เป็นเด็กสมองดี ถ้าไม่มีปัญหาอะไรที่ขัดขวางการเรียนตั้งแต่แรก เช่น ไม่มีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น หรือไม่มีเรื่องของพฤติกรรมรุนแรง หลายคนก็สามารถเรียนได้ และเรียนเก่งด้วย

          แต่ถึงการเรียนจะไม่มีปัญหาแต่จะมีปัญหาคือการเข้ากับเพื่อน เด็กจะเล่นกับเพื่อนไม่เป็น เล่นแรงบ้าง เล่นไม่เหมาะสมบ้าง ไม่เล่นตามกติกา ฉะนั้นก็จะถูกปฏิเสธจากเพื่อน ปัญหาที่ตามมาคือ พอจะเล่นกับเพื่อนแล้วถูกปฏิเสธเขาก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เขาจะหาวิธีการเล่นที่แหวกแนวยิ่งขึ้น ถ้าเป็นการเล่นที่ไม่รบกวนคนอื่นก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ารบกวนคนอื่น หรือทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็อาจจะกลายเป็นปัญหารุนแรงได้







พ่อแม่ควรตั้งรับอย่างไร หากลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์

          เรื่องนี้ นพ.ทวีศักดิ์ ให้คำแนะนำไว้ว่า ขั้นแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจกับปัญหาก่อนว่า เกิดจากสาเหตุอะไร แล้วก็ยอมรับว่า สิ่งที่ลูกเป็นนั้นสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพราะมีการวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันชัดเจนว่า เด็กที่เข้ากระบวนการดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมกับเด็กที่ไม่ได้เข้าสู่ กระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งแง่ของการพัฒนาทางด้านสังคม หรือการเรียน เพราะเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือเขาสามารถเรียนรู้และพัฒนาเรียนจบถึง มหาวิทยาลัย หรือสูงกว่า ดังนั้นเราต้องเชื่อมั่นด้วยว่าเป็นปัญหาที่จัดการได้ และถ้าพ่อแม่ไม่ทำอะไรปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ก็ยิ่งเป็นปัญหาสะสม

          ในการสอนบางอย่างต้องใช้เทคนิคเข้าช่วย ซึ่งจะมีเทคนิคเฉพาะในการสอน พ่อแม่ก็ต้องเรียนรู้เทคนิคนั้น ส่วนจะเป็นเทคนิคอะไรก็ต้องดูเด็กเป็นหลัก ดูว่าในสถานการณ์แต่ละแบบจะต้องใช้เทคนิคไหน ซึ่งพ่อแม่ต้องมีเทคนิคหลากหลายเหมือนกัน







คนป่วยแอสเพอร์มีแนวโน้มก่อความรุนแรงหรือไม่

          จากข่าวกรณีกราดยิงเด็กนักเรียนที่สหรัฐอเมริกา ทำให้คนหวาดกลัวกันว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะมีแนวโน้มก่อความรุนแรงเป็นภัยต่อสังคมมากน้อยแค่ไหน ซึ่ง นพ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต ให้ความรู้ว่า ความเสี่ยงที่คนเป็นโรคนี้จะไปทำร้ายคนอื่นมีน้อยมาก ส่วนมากจะถูกคนอื่นทำร้ายมากกว่า เพราะโรคไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยก้าวร้าว แต่ความก้าวร้าวจะเกิดขึ้นหากมีอาการป่วยซ้ำซ้อนกับโรคอื่น หรือถูกคนสั่งสอนมาแบบผิด ๆ ตั้งแต่เด็ก ดังนั้น พ่อแม่ควรจะสอนให้ลูกอย่าใช้ความรุนแรง สอนให้รู้จักคิดบวก หมั่นดูแลเอาใจใส่มาก ๆ

          ขณะที่ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ให้คำแนะนำว่า คนใกล้ชิดต้องหมั่นสังเกตว่าผู้ป่วยมีความก้าวร้าวเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากเขาไม่เข้าใจเรื่องจัดการอารมณ์ที่ก้าวร้าว หมกมุ่นกับความรุนแรง และคนรอบข้างไม่สนใจเอาใจใส่ก็อาจนำไปสู่การก่อเหตุได้ 







จะรักษาโรคแอสเพอร์เกอร์อย่างไรดี

          อย่างที่ทราบกันว่าโรคนี้เกิดจากอะไรนั้นยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจงเพื่อให้หายขาดได้ แต่สามารถทำได้โดยบำบัดตามอาการ ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้โรคนี้มีอาการน้อยลงได้ โดยเฉพาะในเรื่องทักษะการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน พัฒนาการทางสังคม หากฝึกฝนอย่างต่อเนื่องก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยให้เด็กเรียนรู้ และใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมได้ตามปกติ โดยใช้แนวทางเดียวกับการดูแลรักษาผู้ที่เป็นออทิสติก เน้นแก้ไขในด้านที่เป็นปัญหา ควบคู่ไปกับการส่งเสริมในด้านที่เป็นความสามารถของเด็กเป็นสำคัญ

          อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องการพูดจาไม่เหมาะสม บุคลิกภาพ การเข้ากับเพื่อนนั้นอาจยังเป็นปัญหาที่หลงเหลืออยู่เมื่อเด็กเติบโตขึ้น ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าสถานที่ที่เขาไปอยู่นั้นเป็นอย่างไร ยอมรับในตัวเขาหรือไม่ หากได้รับการยอมรับและคนรอบข้างเข้าใจก็อาจไม่มีปัญหา






ดูแลช่วยเหลืออย่างไร เมื่อเด็กป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์

          ครอบครัวถือเป็นคนสำคัญที่จะช่วยเหลือดูแลเด็กเหล่านี้ได้ รวมทั้งคนในสังคมก็มีส่วนช่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้เด็กได้เช่นกัน ซึ่งสิ่งสำคัญคือการให้ความรัก และความเข้าใจ โดยมีวิธีการเบื้องต้นดังต่อไปนี้

          1. สนทนากับเด็กด้วยคำง่าย ๆ ชัดเจน หากจะยกตัวอย่างก็ควรยกให้เห็นในรูปของสิ่งของ สถานการณ์จริงหรือรูปภาพ เพื่อความเข้าใจ และจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว

          2. เล่นกับเด็กโดยเอาความสนใจของเด็กเป็นที่ตั้ง แล้วค่อยๆ  ขยายความสนใจไปในมุมอื่น ๆ เพื่อแบ่งความสนใจและอารมณ์ซึ่งกันและกัน

          3. ในด้านการเรียนควรจัดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับกฎระเบียบก่อนจะให้เด็กเข้าในกลุ่มใหญ่

          4. สร้างบรรยากาศสบาย ๆ ไม่เครียด ให้ความอบอุ่นและเป็นกันเองกับเด็ก

          5. ต้องมีความสม่ำเสมอในการใช้คำสั่งกับเด็ก ต้องคงเส้นคงวา อย่าเปลี่ยนแปลงคำสั่งบ่อย ๆ

          6. สนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ และหลากหลาย เพื่อให้เด็กได้ปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ อีกทั้งยังช่วยหลีกหนีความจำเจซ้ำซาก

     
     เห็นได้ว่า แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวอย่างที่คิด ซึ่งจุดเริ่มต้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางครอบครัวเป็นสำคัญ หากพ่อแม่คนใกล้ชิดหมั่นเอาใจใส่ดูแลลูก ช่วยกันพัฒนาทักษะทางสังคมให้ลูกเข้ากับผู้อื่นได้ ผู้ป่วยโรคนี้ก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขเหมือนคนทั่วไป



ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ,  studentkm.net , manarom.com, dekthaischool.com




http://health.kapook.com/view52954.html#top





Tuesday, 7 June 2016

การป้องกันการเกิดแผลกดทับ


การป้องกันการเกิดแผลกดทับ

แผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอยแดงและมีการแตกทำลายของผิวหนัง ถ้าไม่ได้รับการป้องกันดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับตามมาได้ ซึ่งการเกิดแผลกดทับจะส่งผลให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน จากการรักษาที่ยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วย




ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับเกิดได้จาก 2 ปัจจัยคือ


1. ปัจจัยภายใน
  • สภาพอายุที่มากขึ้นชั้นไขมันใต้ผิวหนังบางลง ผิวหนังเปราะบาง ฉีกขาดได้ง่าย
  • ผู้ป่วยที่บกพร่องในการเคลื่อนย้าย เช่นผู้ป่วยอัมพาต
  • ผู้ป่วยอ้วนเนื้อเยื่อชั้นไขมันมากทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี
  • ผู้ป่วยผอมทำให้เกิดแรงกดของเนื้อเยื่อบริเวณปุ่มกระดูกมากขึ้น
  • การขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน
  • ภาวะโรคเดิมของผู้ป่วย เช่น เบาหวาน ไตวาย มะเร็ง เป็นต้น

2. ปัจจัยภายนอก
  • แรงกดจะขัดขวางออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ ถ้าผู้ป่วยไม่มีการเคลื่อนไหว จะมีผลให้เนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยงโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ จะเกิดแรงกดมากขึ้น
  • แรงเลื่อนไหลหรือแรงเฉือน เป็นแรงที่ผู้ป่วยนั่งหรือนอน เลื่อนไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นเสียไป
  • แรงเสียดทานเป็นแรงที่เกิดจากผู้ป่วยสัมผัสกับพื้นผิวด้านนอกเกิดการถลอกของผิวหนัง เช่นการเลื่อนผู้ป่วย โดยการดึงลากทำให้ผิวหนังถลอกเป็นแผล
  • ความเปียกชื้นของเหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระทำให้ผิวหนังเปื่อยได้ง่าย


การป้องกันการเกิดแผลกดทับ 
           
การจัดท่านอน
  • ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่รับแรงกดนานเกินไป ถ้าเปลี่ยนท่านอนแล้วรอยแดงบริเวณผิวหนังไม่หายภายใน 30 นาทีอาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนท่านอนได้บ่อยขึ้น โดยมีการหมุนเวียนเปลี่ยนท่านอน เช่น นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา สลับกันไป
  • การนอนตะแคง ควรจัดให้นอนตะแคง กึ่งหงาย ใช้หมอนยาวรับตลอดแนวลำตัว รวมทั้งบริเวณข้อเข่า ข้อเท้า ควรทำให้สะโพก ทำมุม 30 องศา และใช้หมอนรองตามปุ่มกระดูก และใบหู
  • การนอนหงาย ควรมีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่า ตาตุ่มทั้ง 2 ข้าง ขา 2 ข้าง และรองใต้น่องและขาเพื่อให้เท้าลอยพ้นพื้นไม่กดที่นอน
  • การจัดท่านอนศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา แต่ถ้าจำเป็นศีรษะสูงเพื่อให้อาหาร หลังจากให้อาหาร 30 นาที – 1 ชั่วโมง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศา
  • กรณีที่นั่งรถเข็น ควรให้มีเบาะรองก้น และกระตุ้นให้เปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัว หรือยกก้นลอยพ้นพื้นที่นั่งทุก 30 นาที

การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด
  • อุปกรณ์ลดแรงกดอยู่กับที่ เช่น ที่นอนที่ทำจาก เจล โฟม ลม น้ำ หมอน เป็นต้น
  • อุปกรณ์ลดแรงกดสลับไปมา เช่น ที่นอนลม ไฟฟ้า

การดูแลผิวหนัง
  • ผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น หลังทำความสะอาดร่างกายควรทาโลชั่น 3-4 ครั้ง / วัน เพื่อป้องกันผิวหนังแตกแห้ง
  • ผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ที่มีการขับถ่าย และซับให้แห้งอย่างเบามือ
  • ทาวาสลีน หรือ Zinc paste ให้หนาบริเวณผิวหนังรอบๆทวารหนัก แก้มก้นทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผิวหนังเปียกชื้น
  • ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยการออกกำลังกาย
  • ระวังอุบัติเหตุที่เกิดกับผิวหนัง เช่น การกระแทก ของมีคม เป็นต้น
  • จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้ผิวหนังอับชื้น
  • หลีกเลี่ยงการนวดปุ่มกระดูกโดยเฉพาะที่มีรอยแดง จะทำให้การไหลเวียนลดลง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนประคบบริเวณผิวหนังที่มีความรู้สึกน้อย หรืออ่อนแรง
  • ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาดแห้ง และเรียบตึงเสมอ เพื่อลดความเปียกชื้นและลดแรงเสียดทาน
  • จัดเสื้อผ้าให้เรียบ หลีกเลี่ยงการนอนทับตะเข็บเสื้อ และปมผูกต่างๆเพื่อลดแรงกดบริเวณผิวหนัง
  • ไม่นวดหรือใช้ความร้อนประคบหรือใช้สบู่กับผิวหนังที่มีรอยแดง
  • ไม่ใช้ห่วงยางเป่าลมรองบริเวณปุ่มกระดูกเพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงได้ไม่ดีทำให้เกิดแผลได้ และไม่ควรใช้ถุงมือใส่น้ำรองบริเวณปุ่มกระดูก เพราะอาจแพ้ยางได้



การเคลื่อนย้าย


  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรใช้แรงยกไม่ควรใช้วิธีลาก ไม่ควรเคลื่อนย้ายตามลำพังถ้าผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ขณะเคลื่อนย้ายโดยการใช้รถเข็น ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นทุกครั้ง และรัดสายรัดกันเท้าตกเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขณะเคลื่อนย้าย
  • ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ไม่ควรอยู่ในท่านั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง

ภาวะโภชนาการ

  • ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยหรือรับประทานอาหารไม่ได้เลยควรพิจารณาใส่สายยางให้อาหาร
  • ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีนเพื่อส่งเสริมการหายของแผล เช่น นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ
  • วิตามินซี เช่น ส้ม ผัก ผลไม้สด มีผลต่อการหายของแผล ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อ
  • วิตามินเอได้แก่ นม ไข่ ผักคะน้า ผักใบเขียว เป็นต้น ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
  • สังกะสี เช่น หอยแมลงภู่ เมล็ดทานตะวัน ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน สร้างคอลลาเจน

ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชน http://pni.go.th/stroke/
ที่มา ::    http://www.urnurse.net/nurse-basic-bedsore.html





แผลกดทับ ปัจจัยเสี่ยง และการดูแลรักษา

แผลกดทับ ปัจจัยเสี่ยง และการดูแลรักษา 
 
 

รูป มาจาก: http://www.nursinghomesabuseblog.com/bedsores-pressure-sores- decubitus-ulcers/sepsis/bed-sores-not-just-a-pain-in-the-butt-but-an-uncontrolled-killer/




แผลกดทับก็คือบริเวณที่มีการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อจากการขาดเลือดอันเป็นผลจาการถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ แผลกดทับมักจะเกิดบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่เหนือปุ่มกระดูก เช่น บริเวณกระดูกก้นกบ กระดูกสะโพก ตาตุ่ม เป็นต้น
 


ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ

1. การกดทับ โดยมีข้อสังเกตุดังนี้


   1.1 บริเวณที่มีกล้ามเนื้อมากจะทนต่อแรงกดทับได้ดี


   1.2 มีรายงานว่า แรงกดประมาณ 70 มม.ปรอท กดทับเป็นเวลา 1 - 2 ชั่วโมง ติดต่อกันจะทำให้เกิดการขาดเลือดขึ้น


   1.3 แรงกดจำนวนมากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้ เท่ากับแรงกดน้อยๆ แต่ระยะเวลานาน


   1.4 แผลกดทับมักพบในผู้ป่วยอัมพาตแบบ flaccid มากกว่าอัมพาตแบบ spastic



2. แรงไถและความเสียดทาน ซึ่งจะทำให้เกิดการปริแตกของเนื้อเยื่อได้ง่าย และมักจะพบในผู้ป่วยอัมพาตที่นั่งรถเข็น โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนตัวบนรถเข็น

3. อุณหภูมิ ผลของการเพิ่มอุณหภูมิ จะทำให้มีการเพิ่มของเมตาบอลิสซึมของเซลล์ ส่งเสริมให้เนื้อเยื่อขาดเลือดและตายได้ง่ายขึ้น


4. ความมีอายุ


5. ภาวะทางโภชนาการ การขาดโปรตีนจะทำให้การเสริมสร้างเนื้อเยื่อช้าลง ส่งผลให้แผลหายช้า พบว่าผู้ป่วยที่มีแผลควรได้รับโปรตีน 80 - 100 กรัม/วัน นอกจกนี้ภาวะความไม่สมดุลของไนโตรเจน แคลเซียม การขาดวิตามิน เหล่านี้ทำให้แผลหายช้าลง



6. การบวมน้ำ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการส่งผ่านอาหาร และออกซิเจนจากเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิดแผลกดทับได้ง่ายขึ้น และหายช้าลงด้วย

7. ภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ


8. ปัจจัยอื่นๆ เช่นความชื้นจากเหงื่อ อุจจาระ ภาวะติดเชื้อเป็นต้น

บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ





 
ร่างกายของผู้ป่วยขณะนอนน้ำหนักทั้งหมดของผู้ป่วยจะ กดทับลงในส่วนโปนของกระดูก จะเห็นบริเวณหลังและสะโพก เป็นส่วนที่มีความเสี่ยงที่สุดจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ เป็นแผลกดทับบริเวณดังกล่าวมีจำนวนมากที่สุดด้วย
 


บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ

1. ท่านอนหงาย บริเวณที่เกิดคือ ท้ายทอย ใบหู หลังส่วนบน ก้นกบ ข้อศอก ส้นเท้า


2. ท่านอนคว่ำ บริเวณที่เกิดคือ ใบหูและแก้ม หน้าอกและใต้ราวนม หน้าท้อง หัวไหล่ สันกระดูกตะโพก หัวเข่าปลายเท้า


3. ท่านอนตะแคง บริเวณที่เกิดคือ ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดูกก้น ปุ่มกระดูกต้นขา ฝีเย็บ หัวเข่าด้านหน้า ตาตุ่ม


4. ท่านั่งนานๆ บริเวณที่เกิดคือ ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้น หัวเข่าด้านหนัง กระดูกสะบัก เท้า ข้อเท้าด้านนอก


รูปประกอบมาจาก: http://www.cabotskincare.com/Uses/Bed-Sores/Pressure-Sores-Ulcers-more/




แผลกดทับแบ่งออกเป็น 4 ระดับ


ระดับที่ 1 เป็นรอยแดงของผิวหนัง

 ระดับที่ 2 ผิวหนังกำพร้าถูกทำลายหรือฉีกขาด [ Patial thickness] หรือมีการทำลายชั้นผิวหนังแท้เป็นแผลตื้นๆ


 ระดับ ที่ 3 มีการทำลายชั้นผิวหนังลึกลงไป แต่ไม่ถึงพังผืดหรือเอ็นยึดกล้ามเนื้อ เกิดเป็นแผลลึกแต่ไม่เป็นโพรง [ Full Thickness Skin Loss ]


ระดับที่ 4 มีการทำลายผิวหนังลึกลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ กระดูก หรือโครงสร้างของร่างกาย














รูปมาจาก: http://www.rims.edu.in/HealthCareCDACKolgksaha/Zoom-%20Skin%20Problems-%20Sores%20Bed-Sores%20Ankles%20Sores.html




การป้องกันแผลกดทับ และการพยาบาล


1. ดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ หรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ

2. ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ


3. ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก


4. การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี


5. ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี


6. ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี


7. ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเพราะผู้ป่วย จะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลทำนวนมาก นอกจากนี้ต้องดูแลให้วิตามิน ธาตุเหล็ก และน้ำอย่างสมดุลย์ด้วย


8. ดูแลทำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ มีแนวทางปฎิบัติ ดังนี้


8.1 การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย


- ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล หรือล้างแผลด้วยแรงดันสูง เพราะจะทำให้สารอาหาร เซลล์ที่กำลังงอกขยาย รวมทั้ง Growth facter ถูกชะล้างออกไปด้วย


- น้ำยาที่ใช้ล้างแผลต้องไม่มีพิษต่อเซลล์ ได้แก่ น้ำเกลือนอร์มัล ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น Povidone - Iodine , Chlorhexidine, Dekin- solution, Hydrogen peroxide ไม่ควรใช้ในระยะงอกขยาย เพราะจะทำลายเซลล์ที่จำเป็นในซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้า


8.2 การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย


- ใช้การชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย


- ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล ( น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อจากการปนเปื้อน


- กำจัดเศษเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้แบคทีเรียเจริญได้ดี จึงควรตัดเล็บออกให้หมด และเซลล์ใหม่จะงอกขยายเจริญมาปกคลุมแผลได้ดี


- กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แบคทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม


9. อธิบาย ให้คำแนะนำ รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพริกตะแคงตัวและการทำความสะอาดแผล







แหล่งข้อมูล:Pressure Sores, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/pressuresores.html
Bedsores (Decubitus Ulcers), http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/four-stages-of-pressure-sores
Bedsores (Decubitus Ulcers), http://www.drugs.com/health-guide/bedsores-decubitus-ulcers.html
แผลกดทับ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น,http://home.kku.ac.th/ctham/ymeeting/y56/Roongtiva.pdf
ปรยา, การรักษาแผลกดทับ , http://www.oknation.net/blog/preedatower/2007/07/26/entry-2
การรักษาแผลกดทับ, http://www.memoryfoamthai.com/อาการป่วยจากที่นอน/การเกิดแผลกดทับและการดูแลรักษา.html
http://www.ens.ac.th/index.php/know/87-knowledge/95-2





































Wednesday, 1 June 2016