9Q Quotient ความฉลาดที่ผู้นำควรมี
9Q Quotient ความฉลาดที่ผู้นำควรมี หากเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (Leader) แล้ว เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝน เพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง มาทำความรู้จักกับ 9Q ที่ว่า ดังต่อไปนี้
1. เชาว์ปัญญา ( IQ, Intelligent Quotient) คือ ความสามารถด้านสติปัญญา การเรียนรู้ จดจำด้านวิชาการ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ และการคิดวิเคราะห์ การทดสอบ IQ วัดได้ด้วยแบบทดสอบ คน IQ สูง มักเป็นผู้เรียนเก่ง ฉลาด ทำอาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ความคิด ความจำ เช่น แพทย์ วิศวกร นักการเงิน เป็นต้น IQ มี องค์ประกอบหลายด้านทั้งพันธุกรรม การฝึกฝนตนเอง และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่ อย่างไรก็ตามไอคิวมีผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น
2. ปรีชาทางอารมณ์ (EQ, Emotional Quotient) คือ การรู้จักควบคุมตนเอง เข้าใจอารมณ์ มีวินัยบังคับใจตนเอง ไม่แสดงออกตามอารมณ์พาไป คน EQ สูง จะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นง่าย ทำงานเป็นทีมได้ สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นและรักษาให้ยืดยาวได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น ซึ่งอารมณ์สำคัญที่ต้องควบคุมให้ได้คือก้าวร้าว ความต้องการทางเพศ ความกลัว และมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค (AQ, Adversity Quotient) คือ การมีน้ำอดน้ำทนในการเอาชนะอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิต, ความพยายามควบคุมสถานการณ์และแก้ไขสถานการณ์และกล้าเผชิญอุปสรรคด้วยตนเอง, มุมมองปัญหาที่ต้องแก้ไขว่ามีจุดจบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง, อดทนและทนต่อปัญหาต่างๆ ได้ มีงานวิจัยพบว่าคนที่มี AQ สูงหรือมีจิตใจชอบการต่อสู้ จะมีสุขภาพแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บป่วย หากเจ็บป่วยก็จะฟื้นตัวเร็วกว่าผู้ที่ AQ ต่ำ ที่รู้สึกพ่ายแพ้ท้อแท้อยู่ตลอดเวลา หากเป็นมากอาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายในที่สุด
4. การมีจริยธรรม ศีลธรรม (MQ, Moral Quotient) คือ จริยธรรมและศีลธรรมส่วนตัว ส่งผลต่อการควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ กตัญญู มีความรู้ผิดถูกสำนึกชั่วดี อ่อนน้อมถ่อมตนและมีสัมมาคารวะ ซึ่ง MQ ไม่สามารถฝึกฝนหรือ ขัดเกลาได้ในเวลาสั้นๆ แต่เกิดจากการสั่งสมและปลูกฝังตั้งแต่เด็กและฝังลงใต้จิตสำนึก เมื่อถูกกระตุ้น(ตอนเป็นผู้ใหญ่) MQ จะแสดงออกมา แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่เคยถูกปลูกฝัง MQ มาก่อน เมื่อถูกกระตุ้นก็อาจไม่สามารถเป็นคนดีได้มากนัก
5. พลานามัยสมบูรณ์ (HQ, Health Quotient). คือ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะหากร่างกายไม่แข็งแรง การพัฒนาคิวด้านอื่นๆ คงเกิดขึ้นไม่ได้ การดูแลสุขภาพที่ดีควรดูแลทั้งการออกกำลังกาย อาหาร และสุขภาพใจ ไปพร้อมกัน
6. รู้เล่นให้เป็นสุข (PQ, Play Quotient) คือ การมีทักษะในการเล่น การวางแผน การเคลื่อนไหว การตัดสินใจ การทำงานเป็นหมู่คณะ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย (สร้างได้ตั้งแต่ยังเด็ก)
7. ทักษะทางสังคม (SQ, Social Quotient) คือความสามารถในการเข้าสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การวางตัว บุคลิกภาพในการเข้าสังคม รวมถึงภาษากาย (body language) ขณะพูดกับผู้อื่น การตรงต่อเวลาและมารยาททางสังคมด้วย SQ อาจมีความใกล้เคียงกับ EQ แต่ต่างกัน เพราะ SQเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการวางตัวในสังคม มีการแต่งตัว การพูดจา ส่วน EQ เป็นเรื่องของอารมณ์และมนุษยสัมพันธ์ไม่มีเรื่องของการแต่งตัว เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทั้งสองตัวนี้ก็เกื้อหนุนกัน เพราะหากเป็นคนที่ EQ และ SQ สูง ก็จะได้รับการยอมรับจากสังคมมากกว่า
8. การมองโลกแง่ดี (OQ, Optimist Quotient) คือ การมองโลกแง่ดี เปลี่ยนมุมมองใหม่ ทำจิตใจให้แจ่มใส พร้อมเผชิญปัญหา มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย การมองโลกแง่ดีทำให้เป็นคนมีสุขภาพจิตดีเมื่อเกิดปัญหาไม่เครียดจนเกินไปและ พร้อมจะฝ่าฟันไป ซึ่งต้องมีความมานะอดทน (AQ) ช่วยในการเอาชนะ อุปสรรค คนที่มองโลกแง่ดีและมีความมานะอดทนจึงเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า ผู้มองโลกแง่ร้าย และไม่กล้าที่เผชิญปัญหา
9. สร้างสรรค์จินตนาการ (UQ, Utopia Quotient) คือ ความสามารถในการสร้างสรรค์จินตนาการ รู้จักคิดฝัน (ทางบวก) เป็นที่มาของความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative) จินตนาการ เป็นการพัฒนาสมองซีกขวา คนที่มีพลังในการจินตนาการจะเป็นผู้สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ สิ่งใหม่ๆ คนที่มีพลังในการจิตนาการจะเป็นผู้กล้าลองผิด ลองถูก และพร้อมจะเผชิญปัญหา แต่ถ้าเป็นคนที่ใช้พลังด้านจินตนาการด้านลบ หรือในทางที่ผิด อาจกลายเป็นคนหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว ขาดการไตร่ตรอง ต่อต้านสังคมและคนรอบข้าง ยึดติดอยู่ในโลกแห่งความฝัน
9Q Quotient ความฉลาดที่ผู้นำควรมี ดังนั้น การเป็นผู้นำ ไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆ หากไม่มีการพัฒนาตัวเองที่ดีและต่อเนื่อง รวมไปถึงการที่จะให้ได้ผู้นำที่มีศักยภาพทั้งทางร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ คุณธรรมจริยธรรม ที่มีทักษะทางสังคม คนที่มุ่งมั่นทำงานเผชิญปัญหาอุปสรรคอย่างไม่ท้อถอย รวมถึงทักษะทางการเมืองและทักษะทางธุรกิจ องค์กรควรให้การสนับสนุน การพัฒนา IQ EQ BQ CQ AQ MQ PQ และ SQ ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจจะมองในแง่ของการพัฒนาตนเองให้ถึงพร้อมทั้ง 9Q เพื่อดำรงตนให้เป็นผู้ที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน หากได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ ควรต้องมีการจัดการวางแผนให้ดีว่า มีแผนนำทาง (Roadmap) ที่ชัดเจนด้วยว่าจะไปทางไหน จะนำองค์กรไปในทิศทางใด มีองค์ประกอบต่างๆ ครบถ้วนหรือไม่เพียงใดตามที่กล่าวมา และจะสามารถได้ใจลูกน้องเพียงไร (ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญในการเป็นผู้นำ) เมื่อกำลังเล่นบทผู้นำ ลองหันมามองรอบตัวเองบ้างว่า บทบาทครั้งนี้ทำได้ดีแล้วหรือ ดังคำกล่าวของ อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า “เราทุกคนควรจะรู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหน และเราจะก้าวไปทางใด และ ณ จุดใด“
ที่มา :: เว็บไซด์ jc-richer.com
No comments:
Post a Comment