แพทย์
แพทย์ (อังกฤษ: physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น ๆ
เรียนแพทย์ดียังไงแล้วเสียไหม
การเรียนแพทย์นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะ ได้ช่วยเหลือคนจากเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนคนที่ชอบบอกว่าการเรียนแพทย์มันหนัก มันก็ต้องขึ้นอยู่ที่ความคิดของตน ถ้าคนเรานั้นคิดที่จะช่วยเหลือมากกว่าคำว่าทำงานให้ได้เงินมันก็จะเป็นแนวทางความคิดของคน และงานนั้นเรียกได้ว่าสบายมากการเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
ปัจจุบันมีหน่วยงานชื่อว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ทำหน้าที่จัดสอบคัดเลือกและประกาศผลนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกเพื่อเข้ารับการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และมีการรับนักเรียนตามโครงการต่าง ๆ อีกหลายโครงการการเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี ปีแรกเรียกชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ เรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นเกี่ยวข้องทางชีววิทยา ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะนี้ว่า พรีคลินิก (Preclinic) ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์ เรียกระยะนี้ว่า ชั้นคลินิก (Clinic) และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์เรียกระยะนี้ว่า เอกซ์เทิร์น (Extern)แพทย์จบใหม่ในประเทศไทย
เมื่อนักเรียนแพทย์ในประเทศไทยศึกษาจบแพทยศาสตรบัณฑิต บัณฑิตแพทย์ต้องมีการทำงานหรือการชดใช้ทุนของแพทย์เป็นเวลา 3 ปี โดยกำหนดให้ทำงานให้รัฐบาล ซึ่งหากผิดสัญญาต้องจ่ายค่าชดเชยให้รัฐตามแต่สัญญาซึ่งทำไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการศึกษากำหนด ในปีแรกแพทยสภากำหนดให้มีการฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเรียกระยะนี้ว่า อินเทิร์น (Intern)แพทย์เฉพาะทาง
หลังจากที่บัณฑิตแพทย์สำเร็จการศึกษาออกมาและได้เพิ่มพูนทักษะตามจำนวนปีที่แพทยสภา (Medical Council of Thailand) เป็นผู้กำหนดแล้ว สามารถสมัครเพื่ออบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน (Medical Resident) และเมื่อจบหลักสูตรการอบรมและสามารถสอบใบรับรองจากราชวิทยาลัยแพทย์ต่าง ๆ ได้แล้ว จึงจะได้เป็นแพทย์เฉพาะทางได้ต่อไปสาขาของแพทย์เฉพาะทาง
- อายุรแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์
- สูตินรีแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชวิทยา
- ศัลยแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม
- ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยกรรมกระดูกและข้อ)
- จักษุแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา
- จิตแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์
- แพทย์โสตศอนาสิก - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตศอนาสิกวิทยา
- พยาธิแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา
- รังสีแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา
- วิสัญญีแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยา
- กุมารแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์
- แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชปฏิบัติครอบครัว
- แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
http://www.tmc.or.th (แพทยสภา) |